พ.ศ. 2455 – ขุนสมุทรมณีรัตน์ (เม่งฮะ มณีรัตน์) ได้ตั้งโรงเรียนสตรีขึ้นโดยเช่าบ้านของนางทิพย์ สวยสำอางค์ ซึ่งตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 ตำบลท่าฉลอมโดยหาครูจากกรุงเทพฯ ต่อมาชาวบ้านร้องขอให้รับนักเรียนชายเป็นนักเรียนด้วย ขุนสมุทรมณีรัตน์ก็อนุโลมตามและให้นามโรงเรียนว่า โรงเรียนบำรุงวิทยา หลายปีต่อมาก็ได้ย้ายโรงเรียนจากที่เดิมมาปลูกใหม่ ในที่ของขุนสมุทรมณีรัตน์ ซึ่งเป็นที่ที่ได้รับมรดก ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลท่าฉลอม (ปัจจุบันคือที่ตั้งร้านมณีโอสถ) ขุนสมุทรมณีรัตน์เป็นผู้ที่เป็นความสำคัญทางการศึกษา ได้ก่อตั้งโรงเรียนและไม่คิดค่าเช่าที่ ทั้งยังได้อุปการะตลอดมาอีกประมาณ 20 ปีครูที่สอนระยะเริ่มแรกก็มี
- ครูพุก มณีรัตน์
- ครูแม้น ตู้จินดา
- ครูฟิน สิทธิสาราการ
- ครูประดับ กรีทอง
- ครูชุนเน้ย สวยสำอางค์
- ครูเลื่อม วีระปรีย์
ซึ่งในเวลาต่อมา ทางราชการได้มีการขยายการศึกษาไปถึงหัวเมือง จึงได้โอนกิจการโรงเรียนนี้เป็นของรัฐ และให้ชื่อใหม่ว่า โรงเรียนประจำจังหวัดสมุทรสาคร “บำรุงวิทยา”
- พ.ศ. 2472 – ย้ายโรงเรียนมาตั้งที่ฝั่งมหาชัย สร้างโรงเรียนใหม่ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งศาลจังหวัด ศาลากลางจังหวัด และที่ทำการอำเภอเมืองสมุทรสาครในปัจจุบัน ซึ่งเดิมเป็นทีตั้งของกองทัพเรือ (ท.ร.2) แต่ยุบไปเมื่อ พ.ศ. 2456 โรงเรียนใหม่นี้อาศัยโรงเลี้ยงทหารเรือ ใช้ลำแพนกั้นเป็น 4 ห้องเรียน ซึ่งในขณะนั้น พระยาสาครคณาภิรักษ์เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และศึกษาธิการจังหวัดคือ อำมาตย์ตรีหลวงอำนวยศิลปศาสตร์ โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสมุทรสาคร โดยนางฟิน สิทธิสาราการ ดำรงตำแหน่งเป็นครูใหญ่คนแรก โรงเรียนเริ่มเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 โดยมีครู 4 คน และนักเรียน 70 คน และเริ่มใช้เลขประจำตัวหมายเลข 1 คือ คุณอำไพ แตงสุวรรณ
- พ.ศ. 2476 – รองอำมาตย์โท ขุนประจิตดรุณแพทย์ ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาครในเวลานั้น เห็นว่าสถานที่ตั้งของโรงเรียนยังไม่เหมาะสมที่จะเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด จึงดำริที่จะย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ใหม่และเห็นว่า ที่ดินอันเป็นเนินฝึกซ้อมยิงเป้าของตำรวจ ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุเป็นที่เหมาะสม จึงทำเรื่องของบประมาณเพื่อสร้างโรงเรียน ในการนี้ได้รับการบริจาคทรัพย์จากพ่อค้าประชาชนสมทบทุนด้วย โรงเรียนนี้ได้สร้างเสร็จ ในปี พ.ศ. 2477 โรงเรียนนี้ก็คือโรงเรียนปัจจุบันนี้เอง
- พ.ศ. 2477 – ได้ย้ายโรงเรียนจากโรงเลี้ยงทหารเรือมา ณ ที่แห่งใหม่นี้ใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนสตรีสมุทรสาคร “สมุทรสาครบูรณะ”
- พ.ศ. 2481 – โรงเรียนชายประจำจังหวัดสมุทรสาคร (โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ในปัจจุบัน) ได้นำนักเรียนชายมาฝากเรียนด้วย เพราะอยู่ในระหว่างที่ตั้งโรงเรียน
- พ.ศ. 2511 – กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้โรงเรียนเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายศิลปะ ซึ่งรับนักเรียนชายเข้าเรียนด้วย จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ
- พ.ศ. 2529 – ในปีนี้โรงเรียนได้เป็นตัวแทนโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ของจังหวัดสมุทรสาครเข้าแข่งขัน เพื่อรับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน และโรงเรียนพระราชทานในเขตการศึกษา 1 และได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่น รางวัลพระราชทาน และโรงเรียนได้สร้างเกียรติประวัติซึ่งเกิดจากผลงานดีเด่นต่างๆ ของโรงเรียนหลายประการ ดังนี้
- เป็นสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนจริยศึกษาได้ดีเด่นประจำปีการศึกษา 2529
- เป็นโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร ซึ่งจัดหลักสูตรดีเด่น
- เป็นโรงเรียนปฏิบัติการตัวอย่างนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน
- โรงเรียนได้รับโล่รางวัลที่ 1 จากสำนักงานคณะกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ เนื่องในการประกวดมารยาทเยาวชนในสถานศึกษาระดับจังหวัด ปีการศึกษา 2529
- เป็นโรงเรียนปฏิบัติการตัวอย่างโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยภายในโรงเรียน
- พ.ศ. 2530 – มีนักเรียนเลขประจำตัว หมายเลข 10000 คือ เด็กหญิงอภิญญา บุญมี
- พ.ศ. 2531 – ร่วมกับ ยุวพุทธิกสมาคม จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนเพื่อบริการศึกษาให้แก่นักเรียนและผู้สนใจ
- พ.ศ. 2532 – ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่า ผู้ปกครอง และครูสมุทรสาครบูรณะ สร้างห้องปฏิบัติการทางภาษา เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา โดยเฉพาะวิชาภาษาต่างประเทศ ซึ่งในปีนี้โรงเรียนได้รับงบประมาณเพื่อการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้นเป็นเงิน 7,750,000 บาท
- พ.ศ. 2534 – โรงเรียนได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (ERIC) และทางโรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน 5 ชั้น เป็นเงิน 10,100,000 บาท ดำเนินการสร้างโดยรื้อถอนหอประชุมเก่าทางด้านทิศตะวันออก
- พ.ศ. 2535 – ยุวพุทธิกสมาคมจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมให้กับทางโรงเรียนอีกเป็นจำนวน 10 เครื่อง และในปีนี้โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะได้รับคัดเลือกเป็นให้อุทยานการศึกษาของอำเภอเมืองสมุทรสาคร
- พ.ศ. 2537 – ทำพิธีเปิดอาคาร 5 อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2537 โดยมี ท่านรองอธิบดี สมหมาย เอมสมบัติ เป็นประธานในพิธีเปิด
– โรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศของเขตการศึกษา 1 ตามโครงการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาได้รับเกียรติบัตรของกรมสามัญศึกษา ที่เป็นโรงเรียนปฏิบัติงานตามนโยบายกรมสามัญศึกษาได้ดีเด่น – ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาที่จัดจริยศึกษาดีเด่น ระดับมัธยมศึกษาของจังหวัดสมุทรสาคร
- พ.ศ. 2538 – ได้รับรางวัลที่ 2 เขตการศึกษา 1 ตามโครงการรณรงค์และรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา และได้รับประกาศนียบัตรโรงอาหารมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารระดับ “ดี” จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- พ.ศ. 2539 – โรงเรียนได้รับโรงเรียนดีเด่นรางวัลพระราชทาน เขตการศึกษา 1 เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งในปีนี้ห้องสมุดของโรงเรียนเป็น ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก และได้มีการเปิดเป็นศูนย์ภาษาสากล
- พ.ศ. 2540 – เปิดรับนักเรียนชายเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 1 โดยมีสัดส่วน 30% ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
– ก่อสร้างอาคาร 7 ชั้น งบประมาณ 26,900,000 บาท – ตั้ง ศูนย์แพร่ภาพเพื่อการศึกษา – ได้รับรางวัล โรงอาหารระดับดีมาก จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข – ได้รับรางวัลเกียรติบัตร ว่าเป็นสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนจริยศึกษาดีเด่น พ.ศ. 2541
- พ.ศ. 2541 – รางวัลชนะเลิศเป็นห้องสมุดดีเด่น โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ เขตการศึกษา 1
- พ.ศ. 2542 – จังหวัดสมุทรสาคร คัดเลือกโรงเรียนสมุทรสาครบูรณะเข้ารับการประเมินมาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2541 เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาคุณภาพดีเด่นเขตการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2541
- พ.ศ. 2543 – เป็นตัวแทนของสหวิทยาเขตเมืองสมุทรสาคร เข้ารับการประเมิณคุณภาพการศึกษา
– การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมอบโรงเรียนสีเขียวให้แก่ทางโรงเรียน – จัดทำห้องอินเทอร์เน็ต – เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นปีที่ 2
- พ.ศ. 2544 – ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
– เปิดเว็บไซต์โรงเรียน ใช้โดเมนเนมจากโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (School Net)
- พ.ศ. 2545 – ได้รับงบประมาณโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษามัธยมศึกษาระยะที่ 1 ตามโครงการเงินกู้ธนาคารโลก โดยพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ศูนย์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ – วิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
- พ.ศ. 2546 – ร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูสมุทรสาครบูรณะ ปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์บริเวณอาคาร 2 จำนวน 4 ห้อง โดยเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อีกจำนวน 110 ชุด และขยายระบบเครือข่ายใยแก้วนำแสงออกไปสู่อาคารภายนอก
- พ.ศ. 2547 เป็นโรงเรียนชั้นนำ ในการเป็นที่ปรึกษา และแหล่งเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในฝันของสมุทรสาคร
- พ.ศ. 2548 ได้เลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการ TOT SCHOOL ของบริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน
- พ.ศ. 2549 เป็นโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงและโรงเรียนกระจายอำนาจ เพื่อดำเนินการเป็นโรงเรียนนิติบุคคล
- พ.ศ. 2550 เป็นโรงเรียนนิเทศแบบ Coaching ของ สพฐ.
– เป็นห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของ สสวท.
- พ.ศ. 2551 เปลี่ยนหลักสูตรสถานศึกษาพุทธศักราช 2544 เป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- พ.ศ. 2553 ได้รับงบประมาณอาคารเรียน 5 ชั้น ใต้ถุนโล่ง (อาคาร 7) เป็นเงิน 9,508,000 บาท
– เปิดศูนย์อาเซียน ประชาคมอาเซียน เป็นโรงเรียน Sister School เรียนภาษาต่างประเทศภาษาที่ 2 คือภาษาพม่า – เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล เรียนภาษาต่างประเทศภาษาที่ 2 คือภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน และภาษาฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2554 ผ่านการประเมินภายนอก รอบ 3 ระดับดีมาก
- พ.ศ. 2555 เปลี่ยนบางรายวิชามาตรฐานสากลเป็นการสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง (Independent Study : IS)
– ได้รับการรับรองให้เป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรสถานศึกษา 2551
- พ.ศ. 2556 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอเอนกประสงค์ (อาคาร 100 ปี) แบบพิเศษ 3 ชั้น เป็นจำนวนเงิน 21,720,000 บาท